โครงการป่าในกรุง
โครงการป่าในกรุง
ถ.สุขาภิบาล 2 เป็นการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในที่ดินของ
ปตท. จำนวน 12 ไร่ 1 งาน 2 ตารางวา
ภายใต้แนวทางการส่งเสริมพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองของ กลุ่ม ปตท. หรือ "PTT
Green in the City" ได้ออกแบบสัดส่วนเป็นพื้นที่ป่า
75% พื้นที่น้ำ 10% พื้นที่ใช้งาน 15% ป่าเป็นหลัก
มีการออกแบบอาคารที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบนวัตกรรมอาคารเขียวเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกป่าของ
ปตท. และการปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืน
ซึ่งในอนาคตป่านี้จะเติบโตและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ เป็นรูปแบบการศึกษาและเรียนรู้ป่าในเมือง
เชื่อมโยงและสร้างความใกล้ชิดระหว่างคนกับป่า
วัตถุประสงค์โครงการ
- ปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับคนเมือง
- ปลูกป่าเชิงนิเวศแบบยั่งยืน เพื่อให้เกิดป่าทีใกล้เคียงธรรมชาติดังเดิมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกป่าตามวิถี ปตท. ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการปลูกป่า 1 ล้านไร่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ให้แก่ประชาชน นิสิต นักศึกษา และนักเรียน ที่สนใจ
การสร้างป่านิเวศ
ใช้แนวทางการศึกษาและทฤษฏีการฟื้นฟูป่าธรรมชาติของ
ศาสตราจารย์ ดร.อาคิระ มิยาวากิ ซึ่งเป็นป่าที่มนุษย์ฟื้นฟูขึ้นตามหลักการฟื้นฟูป่านิเวศ
(ป่าธรรมชาติ)
- พันธุ์ไม้ที่ปลูกต้องเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมของพื้นที่
- เตรียมกล้าไม้ที่ระบบรากแข็งแรง เน้นการปลูกต้นไม้ที่เพาะขึ้นจากเมล็ด
- ระยะห่างของการปลูก 3-4 ต้นต่อตารางเมตร
- ปลูกพันธุ์ไม้ หลากลายชนิดปะปนกัน
- รูปแบบการปลูกแบบสุ่ม (Random) ไม่เป็นแถวเป็นแนว เลียนแบบธรรมชาติ
- ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายระดับ ทั้งไม้ยืนต้น (Tree) ไม้พุ่ม (Shrub) และไม้พื้นล่าง (Herb)
- ปลูกและดูแลด้วยความพิถีพิถัน เช่น การสร้างเนินดิน การนำกล้าไม้จุ่มน้ำ การคลุมด้วยฟางข้าว เป็นต้น
ชนิดพันธุ์ไม้ที่ใช้ปลูกในโครงการ
สัดส่วนของพื้นที่แบ่งเป็น
พื้นที่ป่า 75% (จำนวน 9 ไร่) พื้นที่น้ำ 10% (จำนวน 1.2 ไร่) พื้นที่ใช้งาน 15% (จำนวน 1.8 ไร่)
ในพื้นที่มีการจัดสรรให้มีพันธุ์ไม้ตามลักษณะป่าชนิดต่างๆ เช่น ป่าดิบที่ลุ่ม
ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าน้ำกร่อย ป่าชายเลน ป่ารอบน้ำตก/เขาหินปูน
ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์ไม้ที่ใช้ปลูกมีทั้งพันธุ์ไม้หายาก
พันธุ์ไม้พื้นเดิมของกรุงเทพมหานคร และพันธุ์ไม้ป่าตามประเภทป่าชนิดต่างๆ
มีจำนวนกว่า 200 ชนิด เช่น กรวยป่า กระเจียว
ขันทองพยาบาท พระเจ้าห้าพระองค์ แคแสด จันทน์ชะมด ชุมแสง ชำมะเรียง เต็งรัง
ตะเคียนทอง มะกอกน้ำ มะเม่า สะตือ นุ่น สมพง ยางนา เหียง ฉนวน จัน-อิน สมอไทย
ทองพันช่าง เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีการบริหารจัดการระบบน้ำสำหรับใช้ในพื้นที่โครงการ
โดยสัดส่วนพื้นที่ของน้ำ 10% (จำนวน 1.2 ไร่)
เพื่อรองรับปริมาณน้ำฝน และเกิดระบบนิเวศอย่างครบวงจรของสิ่งมีชีวิต
ทางเข้าจะมีจุดให้เราลงชื่อการเข้าชมสถานที่
ป้ายทางเข้าเล็กๆ
มีน้ำดื่มบริการและมีคำสอนเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
(1 คน ใช้แก้ว 1 ใบ)
ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ไม้ต่างๆ
ในโครงการจะมีการจัดนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับป่าไม้ในเมืองไทย
ตัวอย่างภายในห้องนิทรรศการ
มีการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ออกจากห้องนิทรรศการก็ไปเดินชมด้านนอกเพื่อไปยังหอคอยชมป่า
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ระหว่างทางที่เราจะไปที่หอคอย
จะมีบอร์ดแนะนำพันธุ์ไม้ในป่าตามบริเวณต่างๆ
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของนกหลายสายพันธุ์ที่จะได้พบในโครงการนี้
(แต่ไม่มีให้เห็นทุกวันนะ ฮ่าๆ)
มาถึงแล้ว
หอคอยที่จะเราจะขึ้นไปดูมุมสูงของโครงการนี้ ( จำกัดจำนวนการขึ้นประมาณ
20-30คน เพื่อความปลอดภัย)
ภาพมุมสูง
ทางขึ้น-ลงจะเป็นบันไดวนนะ
**ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม**
โครงการป่าในกรุง ปตท. ศูนย์การเรียนรู้ระบบป่านิเวศ
เปิดทำการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์
(ปิดทุกวันจันทร์) ตั้งเเต่เวลา 9.00 - 18.00 น.
โครงการป่าในกรุง ปตท. ศูนย์การเรียนรู้ระบบป่านิเวศ
เปิดทำการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์
(ปิดทุกวันจันทร์) ตั้งเเต่เวลา 9.00 - 18.00 น.
ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ได้พักผ่อนแถมได้ความรู้กลับไปด้วย
ปิดท้ายภาพสวยๆของโครงการ
ขอบคุณภาพบางส่วนจาก
: http://www.pttreforestation.com/Educationview.cshtml?Id=8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น